หน้าแรก
>
รู้จักวิถีผ้าชนเผ่า
>
ผ้าซิ่นแหล้ (ซิ่นแล่)

ผ้าซิ่นแหล้ (ซิ่นแล่)

ผ้าซิ่นแล่ หรือซิ่นแหล้ เป็นผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจําวันของสตรีชาวไทยวน ที่พบได้ทั่วไปในชุมชนชาวไทยวน จังหวัดราชบุรี เป็นผ้าที่สตรีไทยวนนิยมใช้นุ่งอยู่กับบ้าน หรือนุ่งไปทํางานนอกบ้าน ทําสวน ทําไร่ เป็น ซิ่นท่ีทอได้ง่าย สตรีชาวไทยวนในอดีตจะต้องมีผ้าซิ่นแล่ ไว้นุ่งเป็นผ้านุ่งในชีวิตประจําวันกันทุกคน ผ้าซิ่นแล่ ในรูปแบบดั้งเดิมจะทอเป็นผ้าฝ้ายพื้นสีดํา (หรือสีครามเข้มเกือบดํา) คาดแถบสีแดงและจะไม่มีการตกแต่ง ลวดลายบนผืนผ้าด้วยเทคนิควิธีการอื่นใดเพิ่มอีก เอกลักษณ์ที่โดดเด่นคือ มีแถวริ้วสีแดงคาดตามแนวขวางของ ซิ่นอยู่ 2 แถบ แถบบนจะอยู่ไกล้กับหัวซ่ิน หรือซิ่นบางผืนอาจอยู่บริเวณรอยต่อระหว่างส่วนหัวซิ่นกับส่วนตัว ซิ่น และแถบล่างจะอยู่ระหว่างส่วนตัวซิ่นกับส่วนตีนซิ่น และส่วนล่างสุดของซิ่นเป็นลวดลายริ้วสีเหลืองขนาด กว้างประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เรียกว่า เล็บเหลือง เป็นแถบริ้วลายจบของผ้าซิ่น และถือเป็นเอกลักษณ์ ดั้งเดิมของผ้าซิ่นไทยวนราชบุรีทุกประเภทที่จะต้องมีเล็บเหลือง ส่วนหัวซิ่นในเอกลักษณ์และวัฒนธรรมของ ชาวไทยวนนั้น จะเป็นผ้าพื้นสีขาวและสีแดงเย็บต่อกันโดยให้ผ้าพื้นสีขาวอยู่ส่วนบนของหัวซิ่นและผ้าพื้นสีแดง อยู่ติดกับตัวซิ่นและผ้าแถบสีขาวและผ้าแถบสีแดงนี้จะต้องเป็นผ้าคนละผืนนํามาเย็บติดกันเสมอ จึงจะถือเป็น ซิ่นดั้งเดิมของชาวไทยวน

CHIANG RAI FASHION TO THE WORLD

Let’s inspire the world